โบอิง 717
โบอิง 717 | |
---|---|
โบอิง 717-200 ของควอนตัสลิงก์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ |
ชาติกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บริษัทผู้ผลิต | เครื่องบินพาณิชย์โบอิง |
ผู้ออกแบบ | |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | เดลตาแอร์ไลน์ ฮาวาเอียนแอร์ไลน์ ควอนตัสลิงก์ (ในอดีต) แอร์ทรานแอร์เวย์ (ในอดีต) |
จำนวนที่ผลิต | 156 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1998-2006 |
เริ่มใช้งาน | 12 ตุลาคม ค.ศ. 1999 โดยแอร์ทรานแอร์เวย์ |
เที่ยวบินแรก | 2 กันยายน ค.ศ. 1998 |
พัฒนาจาก | แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80 |
โบอิง 717 (Boeing 717) เป็นอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์ เดิมได้รับการออกแบบปละวางตลาดโดยแมคดอนเนลล์ดักลาส ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ในชื่อ เอ็มดี-95 จนกระทั่งได้ควบรวมกิจการกับโบอิงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1997 โบอิง 717 ได้รับการพัฒนามาจากแมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80 และเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอากาศยาน ดีซี-9 โดยมีความจุผู้โดยสารสูงสุด 134 ที่นั่ง มีพิสัยการบิน 2,060 ไมล์ทะเล (3,820 กม.) และขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ บีอาร์715 สองเครื่องที่ติดตั้งอยู่บริเวณท้ายลำ
วาลูเจ็ตแอร์ไลน์ (ต่อมาคือแอร์ทรานแอร์เวย์) เป็นสายการบินแรกที่สั่งซื้อเอ็มดี-95 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1995 แต่ด้วยการควบรวมกิจการของเมคดอนเนลล์ดักลาสเข้าสู่โบอิงในปี 1997 ก่อนการผลิต ส่งผลให้โครงการเอ็มดี-95 ถูกโอนย้ายมาอยู่ในความดูแลของโบอิง และเริ่มเข้าประจำการในปี 1999 กับแอร์ทรานในชื่อโบอิง 717 โบอิงยุติการผลิตโบอิง 717 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 หลังจากส่งมอบ 155 ลำ
รุ่น
[แก้]- โบอิง 717-200
รุ่นการผลิตหลัก ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ บีอาร์715เอ1-30 หรือ บีอาร์715ซี1-30 สองเครื่อง มีความจุผู้โดยสารสูงสุด 134 ที่นั่ง มีจำนวนการผลิต 155 ลำ
- 717 บิซิเนสเอกซ์เพรส
รุ่นเสนอของ 717-200 สำหรับการใช้งานเป็นเครื่องบินส่วนตัว มีการเปิดตัวที่การประชุม EBACE ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2003 โดยมีความจุผู้โดยสาร 40 ถึง 80 ที่นั่งในห้องโดยสารชั้นหนึ่งและ/หรือชั้นธุรกิจ (โดยทั่วไปจุผู้โดยสาร 60 คน โดยมีระยะห่างระหว่างที่นั่ง 52 นิ้ว (130 ซม.) โดยมีพิสัยการบิน 3,140 ไมล์ทะเล (5,820 กม.) รุ่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโบอิงบิซิเนสเจ็ต[1]
- โบอิง 717-100 (-100X)
รุ่นเสนอของ 717-200 ที่มีความจุผู้โดยสาร 86 ที่นั่ง เดิมใช้ชื่อ เอ็มดี-95-20 โดยมีความยาวสั้นลง 6 ฟุต 3 นิ้ว (1.91 ม.) หรือประมาณ 4 เฟรม ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น 717-100X โบอิงได้ปรับแก้ขนาดของอากาศยานในช่วงกลางปี 2000 โดยลดเป็น 12 ฟุต 8 นิ้ว (3.86 ม.) หรือแปดเฟรม แผนการเปิดตัวถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 และแบะเลื่อนอีกครั้งอย่างไม่มีกำหนด มีการเลื่อนมาถึงกลางปี 2003[2]
- โบอิง 717-100X ไลต์
รุ่นเสนอที่มีความจุผู้โดยสาร 75 ที่นั่ง ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ ด็อยท์เชอลันด์ บีอาร์710 ถูกยกเลิกในเวลาต่อมา
- โบอิง 717-300X
รุ่นเสนอของ 717-200 เดิมใช้ชื่อ เอ็มดี-95-50 เป็นรุ่นที่เพิ่มความยาวโดยรวมเป็น 138 ฟุต 4 นิ้ว (42.16 ม.) หรือ เก้าเฟรม มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดและน้ำหนักบรรทุกที่สูงขึ้น เพิ่มประตูบริการบริเวณท้ายลำ และใช้เครื่องยนต์ บีอาร์715ซี1-30 โดยมีความต้องการจากแอร์ทรานที่จะแปลงตัวเลือกรุ่น -200 บางลำให้เป็นรุ่นนี้ สตาร์อัลไลแอนซ์กรุ๊ป (แอร์แคนาดา, ออสเตรียนแอร์ไลน์, ลุฟท์ฮันซ่า, และเอสเอเอส) ได้พิจารณารุ่น -300X ในปี 2003 และมีรายงานความสนใจจากเดลตาแอร์ไลน์ ไอบีเรียแอร์ไลน์ และนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์[2][3]
ผู้ให้บริการ
[แก้]ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2023 มีโบอิง 717 จำนวน 101 ลำให้บริการอยู่กับผู้ให้บริการ 3 ราย ได้แก่ เดลตาแอร์ไลน์ (70), ฮาวายเอียนแอร์ไลน์ (19), และควอนตัสลิงก์ (12)[4] จากเดิม 144 ลำในปี 2018[5] ปัจจุบันเดลตาแอร์ไลน์เป็นผู้ให้บริการโบอิง 717 รายใหญ่ที่สุด โดยให้บริการประมาณร้อยละ 60 ของอากาศยานที่ให้บริการทั้งหมด โดยเดลตาเริ่มเช่าโบอิง 717 จำนวน 88 ลำจากเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ในปี 2013 ซึ่งทั้งหมดได้รับต่อแอร์ทราน[6] การนำโบอิง 717 และเอ็มดี-81 เข้ามาประจำการช่วยให้เดลตาปลดประจำการดีซี-9 ที่เก่ากว่าได้ในขณะที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเท่าการสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ ต่างจากสายการบินอื่นๆ ในสหรัฐ เดลตาใช้เครื่องบินที่มีอายุมากกว่า โดยจะมีฝ่ายบำรุงรักษาในชื่อ เทคอ็อป (TechOps) เพื่อดูแลเครื่องบินเหล่านี้โดยเฉพาะ[7]
ในปี 2015 บลูวันได้ประกาศขายฝูงบินโบอิง 717 ทั้งหมด โดยห้าลำขายให้กับเดลตาแอร์ไลน์ และอีกสี่ลำขายให้กับโบโลเตอา สายการบินราคาประหยัดสัญชาติสเปน ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดอันดับสาม[8]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 โบโลเตอาได้ปลดประจำการโบอิง 717 ลำสุดท้าย โดยสายการบินเป็นผู้ให้บริการรายสุดท้ายในยุโรป[9]
คำสั่งซื้อและการส่งมอบ
[แก้]รวม | 2006 | 2005 | 2004 | 2003 | 2002 | 2001 | 2000 | 1999 | 1998 | 1997 | 1996 | 1995 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คำสั่งซื้อ | 155 | – | – | 8 | 8 | 32 | 3 | 21 | – | 41 | – | – | 42 |
การส่งมอบ | 155 | 5 | 13 | 12 | 12 | 20 | 49 | 32 | 12 | – | – | – | – |
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]รุ่น | มาตรฐาน | รุ่นน้ำหนักขึ้นบินสูง |
---|---|---|
นักบิน[12]: 66 | 2 | |
การจัดเรียงที่นั่งแบบสองชั้น | 106 (8J+98Y @ 36–32 in, 91–81 ซm) | |
การจัดเรียงที่นั่งแบบชั้นเดียว | 117Y @ 32 in (81 ซm) | |
การจัดเรียงที่นั่งสูงสุด[12]: 81 | 134 | |
ความจุสินค้า | 935 cu ft (26.5 m3) | 730 cu ft (21 m3) |
ความยาว | 124 ft (38 m) | |
พื้นที่ปีก | 93 ft 4 in (28.45 m) | |
ความสูง | 29 ft 8 in (9.04 m) | |
ความกว้าง | ภายนอกลำตัวเครื่อง: 131.6 in (3.34 m)
ภายในห้องโดยสาร: 123.8 in (3.14 m) | |
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด | 110,000 lb (50,000 kg) | 121,000 lb (55,000 kg) |
น้ำหนักเครื่องเปล่า | 67,500 lb (30,600 kg) | 68,500 lb (31,100 kg) |
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด[12]: 66 | 26,500 lb (12,021 kg) | 32,000 lb (14,515 kg) |
น้ำหนักเชื้อเพลิง | 24,609 lb (11,162 kg) | 29,500 lb (13,400 kg) |
ความจุเชื้อเพลิง | 3,673 US gal (13,900 L) | 4,403 US gal (16,670 L)[a] |
เครื่องยนต์ (2×)[12]: 65 | โรลส์-รอยซ์ บีอาร์715-เอ1-30 | โรลส์-รอยซ์ บีอาร์715-ซี1-30 |
แรงผลักดัน (2×)[12]: 65 | 18,920 lbf (84.2 kN) | 21,430 lbf (95.3 kN) |
เพดานบิน[12]: 67 | 37,000 ft (11,000 m) | |
ความเร็วเดินทาง[13] | มัค 0.77 ที่ 34,200 ft (10,400 m) | |
พิสัยการบิน[13] | 1,430 nmi (2,648 km; 1,646 mi) | 2,060 nmi (3,815 km; 2,371 mi) |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]- แอร์บัส เอ220-100
- แอร์บัส เอ318
- แอฟโรว์ อาร์เจ
- โบอิง 737-600
- ฟอกเกอร์ 100
- เอ็มบราเออร์ อีอาร์เจ
- ตูโปเลฟ ตู-134
- ยาโกเลฟ ยัค-42
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Boeing Introduces 717 Business Express at EBACE 2003". MediaRoom.
- ↑ 2.0 2.1 Jane's All World Aircraft 2005
- ↑ "Boeing Releases Proposed 717-300X Rendering". MediaRoom.
- ↑ "Boeing 717 Operators". www.planespotters.net.
- ↑ "World Airline Census 2018". Flightglobal.com. Retrieved August 21, 2018.
- ↑ "| Delta to Add Boeing 717 Aircraft to its FleetFrequent Business Traveler". www.frequentbusinesstraveler.com.
- ↑ "A Look at Delta Air Lines Fleet and Buying Nine MD-90s : AirlineReporter". www.airlinereporter.com.
- ↑ "Finland's Blue to offload B717 fleet to Volotea, Delta". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Macca, Marco (January 11, 2021). "Volotea: The End of The Boeing 717 in Europe". Airways Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2021. สืบค้นเมื่อ January 11, 2021.
- ↑ 717 Orders and Deliveries, Boeing, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2016
- ↑ Orders & Deliveries (search) Boeing
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 "Type Certificate Data Sheet no. A6WE" (PDF). FAA. March 25, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ 2023-09-29.
- ↑ 13.0 13.1 "717-200 technical characteristics" (PDF). Aero. Boeing. July 2002. p. 30.
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
[แก้]- Norris, Guy (December 6–12, 1995). "T-tail, take three: McDonnell Douglas has finally launched its MD-95 into the hotly contested 100-seat market". Air Transport. Flight International. Vol. 148 no. 4501. Long Beach, California, USA. pp. 46–47. ISSN 0015-3710.
- "717 Passenger Airplane" (PDF). Boeing. 2005.
- "717/MD-95 commercial transport : Historical Snapshot". Boeing.
- "Boeing 717 Production List". Plane spotters.net.
- ↑ Including forward and aft auxiliary fuel tanks